แบตเตอรี่รถยนต์มีกี่ประเภท แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร?

13/05/2019 admin

แบตเตอรี่รถยนต์มีกี่ประเภท แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร?

 

         แบตเตอรี่รถยนต์ถือว่าเป็นหัวใจหลักสำคัญของรถยนต์เลยก็ว่าได้ เนื่องจากแบตเตอรี่รถยนต์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานที่ส่งจ่ายไปตามเครื่องยนต์ และอุปกรณ์เสริมต่าง ๆภายในรถที่ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท เพราะพลังงานจากแบตเตอรี่ทำให้เครื่องยนต์ติดได้ และยังทำให้ระบบไฟใช้งานได้ เช่น กระจกเลื่อนได้ ไฟเบรก ไฟเลี้ยว ซึ่งความสำคัญของแบตเตอรี่รถนั้นสำคัญต่อรถมาก และในปัจจุบันแบตเตอรี่ที่ใช้กันทั่วไปมีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ คือ แบบแบตเตอรี่แบบแห้ง, แบตเตอรี่แบบน้ำ, แบตเตอรี่แบบกึ่งแห้ง และแบตเตอรี่แบบไฮบริด ส่วนว่าควรจะเลือกใช้แบบไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของเจ้าของรถ แต่ก่อนจะตัดสินใจเลือก มาดูข้อดีข้อเสียของทั้ง 4 แบบกันก่อน เพื่อไว้ประกอบการพิจารณาในการเลือกซื้อ และเหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้แบบไหน

 

แบตเตอรี่แบบแห้ง

  1. แบตเตอรี่แบบแห้ง

แบตเตอรี่รถยนต์ตัวนี้ มีการพัฒนาเพื่อไม่ต้องเติมน้ำกลั่น จึงเรียกตามลักษณะให้ตรงข้ามกับแบบดั้งเดิม คือ แบตเตอรี่แห้ง ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงแล้ว แบตเตอรี่ประเภทนี้ ไม่ได้แห้งสนิทเพราะแท้จริงของแบตชนิดนี้ยังคงมีของเหลวอยู่ภายใน ไม่ว่าจะเป็นแบบตะกั่ว-กรดที่ใช้แคดเมี่ยมและตะกั่วในแผ่นเซลล์หรือพวกที่ใช้สารละลายอัลคาไลน์หรือที่รู้จักกันในชื่อ นิเกิล-แคด เมี่ยมนั่นเอง เมื่อใช้ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น และจะไม่มีฝา เปิด-ปิด บางครั้งจะถูกซีลทับฝาติดกัน แต่สามารถเช็คระดับน้ำกรด และ ระดับไฟ อายุใช้งาน การรับประกันโดยมองผ่านตาแมวสำหรับตรวจเช็ค ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบของบริษัทผู้ผลิตแต่ละยี่ห้อ

ข้อดีของแบตเตอรี่แห้ง

  1. ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องคอยห่วงกังวลว่าจะลืม
  2. สามารถดูแลรักษาได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก
  3. สามารถปล่อยแบตเตอรี่ทิ้งไว้ในสภาพไม่มีไฟประจุได้นานกว่าแบตประเภทเติมน้ำกลั่น
  4. แบตเตอรี่รถยนต์แห้ง มีเทคโนโลยีที่เหนือกว่าแบบน้ำ แอมป์สูงกว่า และ ค่า CCA เยอะกว่า

ข้อเสียของแบตเตอรี่แห้ง

  1. แบตเตอรี่แห้ง มีราคาที่สูงกว่าแบตเตอรี่น้ำ
  2. มีระบบปิดที่มีรูระบายแบบทางเดียว และมีขนาดเล็ก จึงมีโอกาสอุดตันได้ง่าย ซึ่งถ้าเกิดอุดตันแล้วก็อาจเกิดปัญหาแรงดันภายในหรือความร้อนมาก
  3. ถ้าหากเป็นแบบที่ปิดผนึกซีลไม่ใช้อีเล็กโตรไลท์ หากซีลของช่องหายใจหลุด อาจจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ เนื่องจากมีความชื้นเข้าไปภายใน

แบตเตอรี่กึ่งแห้ง

  1. แบตเตอรี่กึ่งแห้ง

แบตเตอรี่กึ่งแห้ง เป็นแบตเตอรี่คล้าย ๆ แบตเตอรี่แห้งซึ่งจะต่างกันตรงที่แบตเตอรี่แห้งนั้นจะไม่มีรูเติมน้ำกลั่นเลย แต่แบตเตอรี่กึ่งแห้งนั้นยังมีรูเติมอยู่ แบตเตอรี่กึ่งแห้งนั้นยังต้องการการดูแลอยู่แต่จะมีระยะเวลาการดูแลน้อยกว่าแบตเตอรี่น้ำ ซึ่งแบตเตอรี่กึ่งแห้งนั้นจะอยู่ที่ 1-2 ครั้งต่อปีเท่านั้น ซึ่งข้อดีก็คือ ราคาจะถูกกว่าแบตเตอรี่แห้ง และแบตเตอรี่กึ่งแห้งนั้นไม่จำเป็นต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยเท่าแบตเตอรี่น้ำ แต่ก็ยังต้องเติมกลั่นอยู่ดีซึ่งจะต่างกับแบตเตอรี่แห้ง และยังมีความทนทานสูง เหมาะกับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแล ส่วนข้อเสีย แม้จะได้ชื่อว่าเป็นแบตเตอรี่กึ่งแห้งนั้น แต่ก็ยังไม่ใช่แบตเตอรี่แห้ง จึงยังต้องการการดูแลอยู่บ้าง ห้ามละเลยเด็ดขาด

ข้อดีของแบตเตอรี่กึ่งแห้ง

  1. แบตเตอรี่กึ่งแห้ง มีราคาที่ถูกกว่าแบตเตอรี่แห้ง
  2. เติมน้ำกลั่น 1-2 ครั้งต่อปีเท่านั้น
  3. มีความทนทานสูง

ข้อเสียของแบตเตอรี่กึ่งแห้ง

  1. แบตเตอรี่กึ่งแห้ง มีราคาที่สูงกว่าแบตเตอรี่น้ำ
  2. ต้องดูแลระดับน้ำกลั่นอยู่บ้าง นานๆ ครั้ง

 

แบตเตอรี่แบบน้ำ

  1. แบตเตอรี่แบบน้ำ

สำหรับแบตรถยนต์แบบน้ำ  ถือได้ว่าเป็นแบตรถยนต์แบบดั้งเดิม และมีความแตกต่างไปจากแบตแห้ง อย่างมาก ซึ่งทางร้านที่ขายและทำการจัดจำหน่ายแบต จะทำการเติมน้ำกรดและชาร์จไฟเองเสมอ  มาตรฐานในการเติมน้ำกรดและชาร์จไฟ จึงเป็นไปในลักษณะที่ไม่แน่นอนเท่าไหร่ แบตเตอรี่ชนิดน้ำแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่ต้องเติมและดูแลน้ำกลั่นบ่อยๆ อย่างน้อยต้องเดือนละครั้ง และอีกชนิดหนึ่งคือ กึ่งแห้ง  ที่ไม่ต้องดูแลบ่อย ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีการสูญเสียน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 ชนิดนี้จะมีฝาปิด-ปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น เพื่อไม่ให้แบตเตอรี่รถยนต์เสื่อมสภาพเร็วเกินไป ทนความร้อนได้ดี ซึ่งแบตเตอรี่ชนิดน้ำจะเหมาะกับรถที่ต้องวิ่งนานๆ ใช้งานเยอะและเป็นประจำ และมีอายุการใช้งานยาวนานที่สุดประมาณ 1.5 – 2 ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และการดูแล

ข้อดีของแบตเตอรี่น้ำ

  1. แบตเตอรี่น้ำ มีราคาที่ถูกกว่าแบตเตอรี่แห้ง
  2. มีความทนทานต่อการรับโหลดทั้งการประจุและคายประจุ
  3. อายุการใช้งานของแบตแบบน้ำ จะนานกว่า แบตแบบแห้ง ยิ่งถ้าหากมีการดูแลรักษาอย่างดี อาจจะนานกว่าแบตแห้ง3 – 5 เดือนเลยทีเดียว

ข้อเสียของแบตเตอรี่น้ำ

  1. ต้องดูแลระดับน้ำ เป็นอย่างดีหากลืมเติมน้ำกลั่นมีโอกาศเสียได้ง่าย
  2. ต้องคอยเช็คดูแลการประจุและต้องเติมน้ำกลั่นอยู่เสมอ เนื่องจากมีการระเหยหรือโอกาสที่จะรั่วหกได้
  3. ค่าแอมป์ และ ค่า CCA น้อยกว่าแบตเตอรี่แห้ง

 

 

แบตเตอรี่ไฮบริด

  1. แบตเตอรี่ไฮบริด

แบตเตอรี่รถยนต์ แบบไฮบริดนี้ เป็นแบตเตอรี่รถยนต์แบบลูกผสมระหว่าง แบตเตอรี่กึ่งแห้ง และ แบตเตอรี่น้ำ  สามารถตรวจเช็คระดับน้ำได้ง่ายเหมือน แบตเตอรี่รถยนต์น้ำ ทั่วไปแต่เหนือกว่าแบตเตอรี่น้ำด้วยค่าการสตาร์ทที่สูงกว่า และไม่ต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยเท่ากับแบตเตอรี่น้ำ (ประมาณ 6-9 เดือน ดูระดับน้ำซักครั้งนึง) คาดว่าในอนาคต ข้างหน้าแบตเตอรี่ไฮบริด จะเข้ามาแทนที่แบตเตอรี่น้ำทั้งหมด

 

ข้อดีของแบตเตอรี่ไฮบริด

  1. ราคาแบตเตอรี่รถยนต์ไฮบริดถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ ราคาแบตเตอรี่รถยนต์แห้ง
  2. สำหรับท่านที่ชอบ แบตเตอรี่รถยนต์น้ำ สามารถเลือก แบตเตอรี่รถยนต์ไฮบริดทดแทนกันได้
  3. ดูแลรักษาง่ายกว่า แบตเตอรี่รถยนต์แบบน้ำ

ข้อเสียของแบตเตอรี่ไฮบริด

  1. ราคาแบตเตอรี่รถยนต์ไฮบริด แพงกว่าแบตเตอรี่รถยนต์น้ำ เล็กน้อย
  2. ยังต้องมีการเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่อยู่

 

         สรุปแล้วแบตเตอรี่แต่ละประเภทต่างก็ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ของผู้ใช้งานแต่ละท่าน ไม่ว่าจะเป็น แบตเตอรี่น้ำ,แบตเตอรี่แห้ง,แบตเตอรี่กึ่งแห้ง และแบตเตอรี่ไฮบริด ก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นเราควรเลือกแบตเตอรี่ที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตและให้สอดคล้องกับตัวรถคู่ใจของเราด้วย และถ้าหากต้องการรถหรูมือสองคุณภาพดีสักคันทางผู้เขียนก็ขอฝากโชว์รูมรถหรูมือสอง Apple Luxury Car(โชว์รูมรถหรูมือสอง) ดูแลและให้คำปรึกษากับผู้อ่านทุกท่านที่สนใจรถมือสอง รับรองว่าท่านจะได้รับรถมือสองที่มีคุณภาพ สภาพดี ราคาถูก พร้อมบริการหลังการขายต่างๆ อีกมากมาย

 

>> คลิกอ่านเพิ่มเติม 5 ขั้นตอนควรทำเมื่อต้องจอดรถกลางแดดเป็นประจำ

>> คลิกอ่านเพิ่มเติมประกาศ ‘โตโยต้า-อีซูซุ’ รถรุ่นที่รองรับใช้น้ำมันดีเซล บี 20 ได้

>> คลิกอ่านเพิ่มเติม การโอนรถต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง และการโอนลอยเป็นอย่างไร ปี 2562

>> คลิกอ่านเพิ่มเติม ราคากลางรถมือสอง เช็คราคากลาง รถยนต์มือสอง

>> คลิกอ่านเพิ่มเติม ต่อภาษีรถยนต์ ต่อทะเบียนรถยนต์ ต้องใช้อะไรบ้าง ล่าสุดปี 2562

สนใจ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 080-24-11111
Line : darunee4043

Tags : , , , , , , , , , ,
แสดงความคิดเห็น